อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ปรับขนาดตัวอักษร
ภาษา
ประวัติความเป็นมา
      สมัยก่อน ในพื้นที่มีต้นไม้ชนิดหนึ่งลักษณะทรงพุ่มใหญ่ ร่มรื่น ชาวบ้านเรียกว่า “ต้นแต้ว” ซึ่งขึ้นอยู่เป็นหย่อม ๆ ลักษณะคล้ายเป็นเกาะและได้มีชาวอิสลามจากต่างอำเภอ เช่น สิงหนคร จะนะ สะเดา ได้เข้ามาบุกเบิกตั้งที่อยู่อาศัย (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ ๖ บ้านเกาะแต้ว) ประกอบอาชีพทำนา ปลูกผัก สวนยาง และเลี้ยงสัตว์ ต่อมามีประชากรอพยพเข้ามาอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ทั่วทั้งตำบล และได้ตั้งชื่อถิ่นที่อยู่ว่า “บ้านเกาะแต้ว”และพัฒนามาเป็นตำบลเกาะแต้ว ในปัจจุบันนี้
ด้านกายภาพ
ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
        ที่ตั้งของสำนักงานเทศบาลตำบลเกาะแต้วเลขที่ 229 หมู่ที่ 10 ถนนสายบ้านด่าน-บ้านบ่ออิฐ ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา อยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา มีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองสงขลา 14 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียง ดังนี้
         ทิศเหนือ จดเขต ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
         ทิศใต้ จดเขต ต.ทุี่งหวัง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา และ ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา
         ทิศตะวันออก จดอ่าวไทย
         ทิศตะวันตก จดเขต ต.พะวง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
เทศบาลตำบลเกาะแต้ว มีเนื้อที่ 28.38 ตารางกิโลเมตร (24,396 ไร่) เป็นพื้นที่อยู่อาศัย 3,244 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 17,738 ไร่ พื้นที่สาธารณะ 3,418 ไร่
วิสัยทัศน์

"เกาะแต้วน่าอยู่ พลเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี"

พันธกิจ

เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว เทศบาลตําบลเกาะแต้ว ได้กําหนดพันธกิจการพัฒนาดังนี้

1. พัฒนาตําบลเกาะแต้วให้มีความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ โดยการส่งเสริมอาชีพและพัฒนาอาชีพ ทางการเกษตรและอื่นๆให้ประชาชนมีความมั่นคงในการดํารงชีวิต โดยยึดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง
2. พัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมโดยการให้บริการด้านสาธารณสุข ส่งเสริม ความรู้ทางด้านสุขอนามัย ส่งเสริมการเล่นกีฬา การออกกําลังกาย
3. ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาโดยการมีส่วนร่วม ดํารงรักษาไว้ซึ่งศาสนา วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ของท้องถิ่น
4. สร้างจิตสํานึกรู้รักหวงแหนทรัพยากรและ ดูแลรักษาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่นให้คงอยู่ ในสภาพสมบูรณ์
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดีและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นจากทุกภาคส่วน
6. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็น เพื่อการบริการประชาชนให้มีความสะดวก ครอบคลุม เพียงพอ
7. เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยการพัฒนาสถาบันครอบครัว ช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้พิการและ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมภาคประชาชนและองค์กรต่างๆ พัฒนาศักยภาพ ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย